ผู้สูงอายุที่พิการนั้นจะต้องพบกับความท้าทายในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังอยากที่จะใช้ชีวิตแบบไม่ต้องพึ่งพาใครให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอยากได้โอกาสรวมถึงตัวเลือกในชีวิตของพวกเขาแบบเดียวกันกับผู้ที่ไม่พิการ ความพิการที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดมักจะส่งผลให้เคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่ว ซึ่งทำให้ต้องได้รับความช่วยเหลือในที่อยู่อาศํย
กว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น บ้านพักคนชราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลโดยกฎข้อบังคับของทางรัฐบาลและความต้องการของผู้ใช้งาน ทุกวันนี้บ้านพักคนชรานั้นได้รับการดูแลอย่างดีและเป็นสถาบันที่มีคุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ หรือว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือปัญหาทางจิต
บ้านพักคนชราตามปกตินั้นจะมีการดูแลโดยการจัดอุปกรณ์ดูแลภายในบ้านพัก อุปกรณ์เหล่านั้นมักจะใช้กับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนที่ต้องการระดับการดูแลสูง และต้องคอยดูแลทั้งการอำนวยความสะดวกและคอยดูอาการอยู่เกือบทั้งวันทั้งคืนโดยบุคลากรมืออาชีพที่มีใบรับรอง ที่พักคนชราส่วนมากมักมีหอพักที่เป็นส่วนตัวหรือกึ่งส่วนตัวหรือจะเป็นเหมือนการอาศัยในอพาร์ตเมนต์ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกับอยู่บ้าน
ใครบ้างที่อาศัยในบ้านพักคนชรา?
เกือบครึ่งของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราก็คือคนชรานั่นเอง ที่เหลือนั้นก็คือเหล่าคนที่คอยช่วยเหลือผู้พิการ และผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรานั้นมักจะไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เท่ากับผู้ที่อาศัยตามบ้านเรือนปกติ เป็นเรื่องไม่ค่อยน่าแปลกใจนัก มีการศึกษาว่ากว่า 80% ของผู้อาศัยในบ้านพักคนชราต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน (การแต่งตัว อาบน้ำ ฯลฯ) 3 อย่างหรือมากกว่านั้น ในระหว่างที่ 90% ของผู้อาศัยต้องการความช่วยเหลือหรือให้คอยดูแล มากกว่าหนึ่งในสามมีปัญหาในการมองเห็นหรือการได้ยิน และกว่าครึ่งของผู้อาศัยมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
และนอกเหนือไปจากปัญหาทางกายภาพแล้ว โรคทางสมองเช่นภาวะสมองเสื่อมเองก็พบได้มากในผู้อาศัยที่บ้านพักคนชราด้วยเช่นกัน ภาวะสมองเสื่อมนั้นพบได้มากที่สุดคิดเป็นประมาณ 50-70% ของผู้อาศัย ในขณะเดียวกันมากกว่าสามในสี่ของผู้อาศัยในบ้านพักคนชรามีปัญหาในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน
อย่างน้อยหนึ่งในสามของผู้อาศัยมีปัญหาด้านพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านี้อาจรวมถึงความรุนแรงในการใช้คำพูดหรือใช้กำลัง ทำตัวไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ ไม่ยอมรับการดูแลที่จำเป็น และเดินเหินไปทั่ว ปัญหาด้านการสื่อสารเองก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย—เกือบครึ่งของผู้อาศัยในบ้านพักคนชรานั้นมีปัญหาทั้งการทำความเข้าใจผู้อื่นและยากที่ผู้อื่นจะทำความเข้าใจเขา โรคซึมเศร้าเองก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ส่งผลกระทบต่อผู้อาศัยในบ้านพักคนชรา การศึกษาพบว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้อาศัยในบ้านพักคนชรามากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั่วไป
ระยะเวลาที่อยู่อาศัย
เนื่องจากในบ้านพักคนชรานั้นเต็มไปด้วยอุปกรณ์เฉพาะและบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ผู้สูงอายุบางคนอาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราเพื่อใช้อุปกรณ์เหล่านั้นและได้รับการดูแลเป็นพิเศษเป็นระยะเวลาสั้นๆ (3 เดือนหรือน้อยกว่านั้น) ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้อาศัยใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี และ 21% อาศัยอยู่ที่นั่นเกือบ 5 ปี เพราะว่าได้รับการดูแลอย่างมืออาชีพ และผู้อาศัยมักจะสามารถช่วยตัวเองได้ดีขึ้นสำหรับผู้ทีอาศัยอยู่เป็นเวลานานกว่า
บ้านพักคนชรากำลังประสบปัญหาความช่วยเหลือไม่เพียงพอ
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีบ้านพักคนชรามากกว่าในอดีต การที่อุปกรณ์ช่วยเหลือในบ้านและบุคลากรที่คอยดูแลขาดแคลนนั้นกำลังทำให้การดูแลผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากและผู้สูงวัยมากๆนั้นลำบาก ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มักจะมาจากค่าจ้างที่ต่ำ และแรงงานที่เต็มใจจะมาทำงานที่ใช้ทั้งแรงกายและแรงใจมหาศาลอย่างงานนี้ลดลงนั่นเอง
แหล่งที่มา
https://www.seniorliving.org/assisted-living/disability
https://www.healthinaging.org/age-friendly-healthcare-you/care-settings/nursing-homes
https://www.washingtonpost.com/national/health-science/the-disabled-and-the-elderly-are-facing-a-big-problem-not-enough-aides/2017/04/21/5846f576-237f-11e7-a1b3-faff0034e2de_story.html?
noredirect=on&utm_term=.83e578801074
15-myhomenursing_com-Patrariya